แอพพลิเคชันบนมือถือจะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้ ซึ่งมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพการขายการประชาสัมพันธ์ แทนที่การโฆษณาแบบกว้าง ก็จะสามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างเจาะจงมากขึ้น
ด้วยวิธีการใช้งานแอพของลูกค้า อาจทำให้ธุรกิจสามารถดึงดูดลูกค้าที่หายไปให้กลับมาได้ โดยลูกค้าสามารถซื้อสินค้าโดยใช้เวลาว่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง หรือแม้แต่การลดราคาล้างสต็อกเพื่อระบายสินค้าคงคลัง สิ่งเล็กๆ เหล่านี้มีผลต่อการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ
1. การแจ้งเตือน (ตามตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้า)
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ผู้บริหารของ Google เคยกล่าวถึงอนาคตของมือถือว่าจะต้องทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยสามารถแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ รอบตัวของผู้ใช้งานได้โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานมือถือเดินผ่านย่านประวัติศาสตร์ของเมือง San Francisco แอพจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสถานที่ที่เขาเดินผ่านได้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจได้
2. เพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น
เนื่องจาก Smartphone ได้เปิดโลกของการซื้อขายสินค้าออนไลน์ นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับภาคธุรกิจที่จะต้องพัฒนาแอพของตนเอง ผู้คนใช้งานมือถือกันแทบจะตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการเดินทางในตอนเช้า ระหว่างเข้าแถวรอคิวซื้อตั๋วหนัง หรือแม้แต่เวลานั่งรอคิวที่โรงพยาบาล ก็มีการใช้งานเพื่อซื้อขายสินค้า หรือดูข้อมูลแบรนด์ของคุณ
3. โฆษณา (ตามตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้า)
โฆษณาโดยเจาะจงเป้าหมายลูกค้าได้ถูกกลุ่ม เช่น ระหว่างทางกลับบ้านที่รถติด ผู้ที่ติดอยู่บนถนนอาจะมองออกมาที่ป้ายโฆณาข้างทางที่มีประโยคว่า “หากบ้านคุณอยู่ตรงนี้ คุณจะถึงบ้านแล้ว”
แต่ตอนนี้คุณสามารถแสดงโฆษณาได้ซ้ำเป็นล้านครั้งด้วยการโฆษณาบนมือถือ โดยเจาะจงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายตามตำแหน่งที่อยู่ได้ สามารถแสดงโฆษณาเมื่อไรก็ได้ที่ผู้งานอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ อีกทั้งยังแสดงคูปองส่วนลดให้กับลูกค้าในกลุ่มเป้าหมาย หรือช่วยให้ลูกค้าให้เห็นธุรกิจของคุณได้จากโฆษณาบนแผนที่
4. แสดงข้อเสนอหรือส่วนลดตามความต้องการ
เมื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีของระบบแจ้งเตือนเข้ากับระบบระบุตำแหน่งเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจ คือ สามารถใช้ข้อมูลจากระบบระบุตำแหน่งมาใช้เพื่อแจ้งเตือนและให้ข้อเสนอพิเศษกับลูกค้าเป้าหมายได้ Groupon ก็เป็นแอพหนึ่งที่ใช้วิธีนี้ ด้วยความสามารถของมือถือนั้นทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มสิ่งที่น่าสนใจเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้
ยกตัวอย่างเช่น ที่โรงภาพยนตร์ สามารถตรวจสอบผู้ใช้งานที่เข้ามาดูรอบหนังแต่ไม่ได้ทำการซื้อตั๋วหนัง แล้วแสดงคูปองส่วนลดให้กับผู้ใช้งานนั้นๆ หรือที่บาร์ อาจจะแสดงข้อความโฆษณาช่วง Happy hours ให้กับลูกค้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้
5. ช่วยนำทางลูกค้าและทำให้ขั้นตอนในการใช้งานง่ายขึ้น
คุณเคยเดินเข้าไปในร้านค้า เดินมองรอบๆ แล้วเดินออกมาโดยไม่ได้ซื้อไรอะไรหรือไม่ สิ่งนี้เรียกว่า Bounce ในโลกออนไลน์ ลูกค้าเปิดดูสินค้าของคุณแล้วออกไปด้วยเหตุผลมากมาย เช่นว่า ไม่มีบัตรเครดิต เบื่อที่จะต้องกรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน สิ่งเหล่านี้อาจจะกวนใจลูกค้าแล้วทำให้เขาเลิกใช้งานแล้วเก็บมือถือใส่กระเป๋าไปก็ได้
แต่ว่ามีวิธีที่ช่วยลดความยุ่งยากเหล่านี้ได้ เช่น ฟีเจอร์ช่วยกรอกข้อมูลโดยอัตโนมัติ โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้งานจาก GPS แล้วจึงสามารถกรอกข้อมูลให้ผู้ใช้งานได้เอง ดังเช่นบริษัทให้บริการส่งอาหารแห่งหนึ่งที่โฆษณาว่าเขาสามารถระบุและกรอกตำแหน่งของลูกค้าได้ แล้วแสดงร้านอาหารที่มีบริการส่งไปยังที่นั้นๆ ได้
6. จัดเก็บข้อมูล
นับว่าเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งในการทำธุรกิจผ่านทางอินเตอร์เน็ตเลยก็คือ สามารถติดตามทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าได้ตั้งแต่เขาเข้ามายังเว็บไซต์ เพื่อวิเคราะห์ได้ว่าอะไรที่ดึงดูดหรือทำให้เขาออกไป บนเว็บขายของออนไลน์ เราสามารถเก็บข้อมูลได้ว่าผู้ใช้งานดูอะไรหรือทำอะไรบ้าง ซึ่งผู้ดูแลเว็บไซต์ให้ข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ยาก แต่ว่าในร้านค้าจริง เราก็สามารถเก็บข้อมูลนี้ได้จากสัญญาณมือถือของลูกค้าได้
7. พร้อมต่อสู้กับคู่แข่งเสมอ
ร้านค้าหลายๆ ร้านบ่นเหมือนกันว่า ลูกค้ามักจะเข้ามาดูสินค้าในร้าน แล้วกลับไปซื้อสินค้านั้นออนไลน์ ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า นั่นทำให้เขาเสียยอดขายสินค้านั้นไป ผลประโยชน์กลับตกไปอยู่ที่ลูกค้าและร้านค้าออนไลน์แทน เนื่องจากว่ามีเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบราคากันได้ ยกตัวอย่าง Amazon ที่เสนอส่วนลด 5$ ให้กับลูกค้าที่ดูสินค้าแล้วใช้เครื่องมือเปรียบเทียบราคา
8. Application ช่วยให้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ต่อการทำรายการสั่งซื้อ
สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดเข้าใจพฤติกรรมทางอารมณ์ของผู้บริโภคคือ บางทีลูกค้าจะมีช่วงเวลาในการตัดสินใจซื้อด้วยอารมณ์อยากได้ชั่ววูบก่อนที่จะคำนึงถึงเรื่องราคา และอื่นๆ ดังนั้น Application ช่วยเข้ามามีบทบาทให้ปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว ด้วยขั้นตอนการซื้อที่ง่าย ไม่กี่ขั้นตอนก็ปิดการขายได้แล้ว ก่อนที่ลูกค้าจะมานึกลังเลในช่วงหลังด้วยซ้ำ ดังนั้น UX/UI Designer ที่เชี่ยวชาญจะช่วยออกแบบระบบ Application ให้ออกมาให้ปิดการขายได้ง่ายดายและรวดเร็ว