ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการค้นหาแอพบนมือถือ

ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการค้นหาแอพบนมือถือ

SEO  |  MOBILE APP  |  ASO
GetAppEasy Image Placeholder

มือถือไม่ได้เป็นเรื่องของอนาคต มันคือปัจจุบัน แอปพลิเคชันบนมือถือจะไม่เพียงแต่เปลี่ยนวิธีที่เราโต้ตอบกับอุปกรณ์หรือเว็บไซต์ แต่แอพกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราค้นหา

หลายๆ บริษัท กำลังสร้างสรรค์ประสบการณ์ครั้งสำคัญ เพื่อให้ Website และ App ของตน สามารถรองรับบนอุปกรณ์พกพา เกิดการพัฒนาที่ก้าวล้ำผู้ใช้งานไปอีกขั้น ผู้เขียนจึงอยากสำรวจพัฒนาการการค้นหา App อันจะก่อให้เกิดการขับเคลื่อน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาดังกล่าว

จุดเริ่มต้นของการค้นหา APP ผ่านอุปกรณ์พกพา

การเติบโตของการใช้งานอุปกรณ์พกพา ได้ขับเคลื่อนไปสู่การยกระดับครั้งสำคัญ ต่อช่องทางการค้นหา App สิ่งนี้เอง ที่ทำให้เกิดวิธีการค้นหาด้วยอุปกรณ์พกพาในแนวตั้ง (Vertical Search) ภายใต้การรวบรวมรายการการค้นหาทุกอย่างไว้ด้วยกัน

Image title


เป็นที่ชัดเจนกันดีอยู่แล้วว่า การค้นหาข้อมูลนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ และด้วยความสำคัญดังกล่าว Google เองได้มีการเน้นย้ำเมื่อไม่นานมานี้ว่า พวกเขาผลักดันความเป็น Mobile-friendly (การรองรับการทำงานบนอุปกรณ์พกพา) ใน SERPs (Search Engine Results Page: ผลการแสดงอันดับของ App ค้นหาข้อมูล) โดยได้ให้น้ำหนักกับเรื่องของ Mobile-friendly เป็นปัจจัยต่อการจัดอันดับอีกด้วย

ในอนาคตของตลาดการค้นหาข้อมูลที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์พกพา จะก่อให้เกิดการพัฒนาอันที่ไร้ขีดจำกัดต่อ Webpage ประเภท HTML ให้มีการออกแบบที่ตอบสนองและเหมาะสมต่อผู้ใช้ (User Experience) มากขึ้น เพราะ Mobile SEO (กระบวนการเพิ่มช่องทางที่มีคุณภาพเข้าสู่ Website ผ่านอุปกรณ์พกพา) กลายเป็นเสมือนหนึ่งโลกศูนย์กลาง ในด้านการค้นหาผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทั้ง App และแผนผังองค์ความรู้

จาก 10 อันดับผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ผ่านสื่อออนไลน์ แสดงให้เห็นว่า กว่า 34% ของผู้เข้าชมนั้น ผ่านมาจากอุปกรณ์พกพา จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นตัวเลขดังกล่าว จากผู้ใช้งานในลักษณะเดียวกันมาแล้ว ทำให้ตัวเลขอีก 72% นั้นดูไร้ค่า เมื่อการใช้งานบน Browser นั้นเทียบกับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพา

Image title


หากสังเกตการณ์ใช้งาน ของกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่น การค้นหา App นั้นเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด และกว่า 55% ของกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่น ยังใช้วิธีการค้นหาข้อมูลผ่านระบบคำสั่งเสียงมากกว่า 1 ครั้งภายในวันเดียวกันด้วย แสดงให้เห็นถึงกลุ่มผู้ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

เราจึงไม่สามารถเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของ Webpage ประเภท HTML เพียงอย่างเดียวได้ ตลาดด้านการค้นหาข้อมูล ต้องหันมาขยายศักยภาพลงสู่การพัฒนา App เพิ่มอีกด้วย

การแสดง APP บนอุปกรณ์พกพา

การขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว ทำให้การค้นหา App และผลลัพธ์จากการค้นหาบนอุปกรณ์พกพา มีผลมาจาก App Trigger (การข้ามผ่านไปมาของข้อมูลขั้นสูง) บนอุปกรณ์พกพานั่นเอง ลองนึกถึงสิ่งเหล่านี้ในแบบเดียวกันกับผลของการค้นหาเฉพาะที่ (Local Search) ซึ่งการค้นหาเฉพาะที่นั้น จะทำให้การค้นหา App บนอุปกรณ์พกพา เกิดการสั่งงานอีกครั้ง (Reorder) เพื่อให้เกิดการแสดงผลแบบดั้งเดิม (Traditional Result) โดยไม่แทรกแซง หรือสอดแทรกการแสดงผลของ App แบบดั้งเดิมนั้น

คุณสามารถลองทดสอบสิ่งเหล่านี้บนหน้าจอ หรือลองค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพา iOS หรือ Android ของคุณ จะเห็นว่าการแสดงบน iPhone หรือ Android จะมีจุดแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย



Image titleจากสิ่งที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็น การแสดงผลผ่านอุปกรณ์พกพาสั่งการได้ถี่กว่า และผลลัพธ์ที่มากกว่าเมื่อค้นหาผ่านระบบ Android เมื่อเทียบกับ iOS โดยที่ iOS นั้นจะแสดงผลการค้นหาแบบดั้งเดิม (Traditional Result) ในขณะที่ Android จะแสดงผลแบบผสมผสาน (Integrated) ซึ่งจุดแตกต่างดังกล่าว มาจากข้อแตกต่างระหว่างแนวทางในการทำ APP Submission บน Store ของสองค่ายใหญ่ ก็คือ Apple App Store และ Google Play นั่นเอง
Image title

สรุปข้อแตกต่างในผลการค้นหา APP บนอุปกรณ์พกพา

1. Title (การตั้งชื่อ) ระบบ Google ใช้การแสดงรายชื่อ App แบบ HTML นั้น ระบบ iOS เอง ชื่อสามารตั้งได้ยาวตั้งแต่ 55 ถึง 62 ตัวอักษร ส่งผลให้เกิดการตัดคำแบบการแสดงผลดั้งเดิม (Traditional Result) ในขณะที่ทาง Android ชื่อนั้นถูกระบุให้ตั้งได้สั้นกว่า จึงเป็นธรรมดาว่า ชื่อที่ตั้งย่อมแสดงผลได้กระชับกว่าบนอุปกรณ์พกพาระบบ Android

2. URL การแสดงผลรายชื่อ App ในอุปกรณ์พกพา ทางระบบ iOS จะแสดงผลแบบ iTunes URL อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผลที่มีอยู่ใน App Store

3. Icon (รูป) ของ App บนระบบ iOS และ Android สามารถแสดงผลแบบกลมมนที่ขอบมุมได้ทั้งคู่

4. Design (การออกแบบ) ทางระบบ Android จะมีความเหนือชั้นกว่า ด้วย App Headline (คำจั่วหัว) ซึ่งประกอบไปด้วยชุดคำสั่งที่สามารถนำไปสู่ Google Play ได้เลย

5. App Store Content (สารบัญเนื้อหา) ที่อยู่ใน App Store นั้นจะแสดงผลแตกต่างไปตามลิขสิทธิ์ การจัดลำดับ และการวิจารณ์ App ของแต่ละ Store

การจัดลำดับของผลของการค้นหาผ่าน APP บนอุปกรณ์พกพา

การจัดอันดับในผลของการค้นหาผ่าน App ถือเป็นการผนวกกันของ App Store Optimization (การปรับแต่ง App Store ให้เหมาะสม) และ Traditional SEO (การแสดงผลแบบดั้งเดิม) ซึ่ง On-page Factor (ปัจจัยที่ Search Engine สามารถมองเห็นจาก Website) ขึ้นอยู่กับการที่คุณจัดเรียงรายชื่อ App ดังนั้นการจะทำให้เนื้อหามีความเหมาะสมได้นั้น ต้องเริ่มจาก ASO ที่แข็งแกร่ง หากคุณไม่ได้มีความคุ้นเคยในเรื่องของ ASO คุณอาจจะต้องเริ่มทำให้รายชื่อ App นั้นปรับแต่งให้เข้ากับระบบการค้นหาภายใน (Internal Search) เสียก่อน

พื้นฐานของ ASO

การจัดอันดับใน Apple App Store และใน Google Play นั้นส่งผลมาจากสองปัจจัยหลักคือ Keyword Alignment (การวางตำแหน่งคำค้นหา) และ App Performance (ประสิทธิภาพของ App) การสร้างช่อง (Field) สำหรับกรอกข้อความ อย่างเช่น หัวเรื่อง คำอธิบาย และคำจำกัดความ ที่จะทำให้ App นั้นสอดคล้องไปกับชุดของคำจำกัดความ (Keyword) ในตัวเมตริกวัดประสิทธิภาพ รวมไปถึงความเร็วในการดาวโหลด การจัดอันดับของ App และคำวิจารณ์ต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ใช้พิจารณาถึงอันดับที่ App ควรได้รับทั้งสิ้น (นอกจากนี้ Google Play Algorithm อาจรวมไปถึง เมตริกวัดประสิทธิภาพจาก Website ภายนอก เช่น การอ้างอิง และ link ดาวโหลดก็ถือเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการจัดอันดับ)

Image title


การจัดวางรายชื่อให้เหมาะสมของ APP บนอุปกรณ์พกพา

ผู้เขียนไม่ได้เจาะลึกถึง ASO ในที่นี้มากนัก เพราะมันมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับตัว Traditional SEO แต่การปรับแต่ง App ให้เหมาะสมถือเป็นบทบาทแรกของการชี้ชัดคำจำกัดความ ผู้อ่านพึงระลึกว่ารายชื่อของ App ที่ค้นหาบนอุปกรณ์พกพานั้น แสดงผลออกมาแบบ Universal Search (แสงแบบค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างบนตัวเครื่อง) ดังนั้น ก็ควรใช้เครื่องมือในการค้นหาคำจำกัดความแบบดั้งเดิม (Traditional Keyword Research Tools) อย่างเช่น เครื่องมือ AdWords หรือ Google Trends มาเป็นตัวช่วย

ถึงแม้ว่า SEO จะมีความคล้ายคลึงกับ ASO แต่การจัดการความเหมาะสมสำหรับรายชื่อการค้นหาผ่าน App บนอุปกรณ์พกพานั้น ก็มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง ASO และ APP ประเภท SEO บนอุปกรณ์พกพานั้นเป็นในเรื่องของ

1. Title (หัวเรื่อง) แม้ว่า Apple Store สามารถยอมตัวอักษรชื่อ App มีความยาวได้มากกว่า แต่มันก็มีข้อจำกัดในการแสดงผลเมื่อทำการค้นหา หัวเรื่องควรจะมีตัวอักษรที่สอดคล้องกับการค้นหาผ่าน Google นอกจากนั้นเพื่อเป็นการปรับแต่งให้เหมาะสมกับ App Store ด้วย

2. Description หรือคำอธิบายรายการนั้นไม่มีผลต่อการค้นหาภายใน App Store เอง แต่จะส่งผลกระทบต่อผลการค้นหาจากภายนอก (External Search) การให้ความสำคัญต่อจุดคำค้นหา ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติ เมื่อเริ่มเขียนคำอธิบายตัว iOS App เช่นเดียวกันกับคำอธิบายรายการของ Android App

3. อุปกรณ์ (Device) และระบบข้อมูลของคำค้นหา (Platform Keyword) นั้น เมื่อเรากำหนดจุดการค้นหาบน App Store ยังไม่สำคัญเท่ากับการจำกัดขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับระบบการปฏิบัติการ หรืออุปกรณ์ ขอบเขตเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ค้นหาสามารถมองเห็นได้จากภายนอก ทั้งนี้รวมไปถึงระบบปฏิบัติการ และอุปกรณ์ อย่างเช่น Samsung Note ที่เป็นระบบ Android, และ iPad หรือ iPhone ที่เป็นระบบ iOS

การปรับแต่งการแสดงผลของ APP

นอกเหนือจากการปรับแต่ง (จากสิ่งที่กล่าวมา) Google ยังคงมองไปถึงเรื่องของการแสดงผลของ App ด้วย สำหรับฝั่งระบบ Android มุ่งเน้นไปถึงการเข้าถึงข้อมูล แต่หากทางระบบ iOS นั้นขึ้นอยู่กับสารสนเทศที่เปิดเผยต่อสาธารณชน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประมวลผลของ App มีดังนี้

1. ตัวเลขของการให้อันดับ

2. คะแนนเฉลี่ยของการให้อันดับ

3. เนื้อหาและทัศนคติของการวิพากษ์วิจารณ์

4. การดาวน์โหลดนำไปติดตั้ง

5. การใช้งานและการเก็บรักษาไว้

6. Link ภายในที่อยู่ใน APP Store เอง

สำหรับระบบ iOS ตัววัดผลความสำเร็จในเบื้องต้นนั้นมาจากการให้คำวิจารณ์และการให้อันดับ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวประสิทธิภาพของ App สามารถประเมินได้จากการใช้ชาร์ตแสดงผลของ App ใน App Store และจำนวนการค้นหา ซึ่งสามารถใช้ได้เสมือนหนึ่งตัวแทน (Proxy) ของตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (Performance Metrics) วัตถุประสงค์ในเรื่องต่อไปนี้ ถือเป็นปัจจัยที่มีผลสูงสุดต่อการให้ลำดับการค้นหา App บนอุปกรณ์พกพาของคุณ

1. การเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของการจัดอันดับ (App ของคุณ)

2. การเพิ่มขึ้นของตัวเลขการจัดอันดับ (App ของคุณ)

3. การเพิ่มขึ้นของการดาวโหลด (App ของคุณ)

ท้ายที่สุด หากเราคำนึงถึงการขาย และการจัดลำดับของ App ของเราภายใต้เงื่อนไขของโครงสร้างที่มีอยู่ใน Link ภายใน App Store ยิ่งเราทำให้ App ของเราสามารถเป็นเป้าสายตาได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ App ของเราสามารถมองเห็นจากภายนอกได้มากขึ้นเท่านั้น

การปรับแต่ง APP Web (หน้าแสดงข้อมูลของ APP)

เรื่องท้ายสุดที่เราพูดถึง คือ การจัดเรียงลำดับใน Google ดังนั้นปัจจัยอย่างเช่น ตัว Link และการแชร์ข้อมูลผ่านสังคมออนไลน์ (Social Share) เองถือเป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้น ผู้อ่านควรมีการจัดการเนื้อหาทางการตลาด การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ตัว App ที่ดี มุ่งเน้นในเรื่องของการทำการตลาดของ App และนอกเหนือไปจากนั้นคือการเพิ่มโอกาสให้คลอบคลุมการเข้าถึง App (หรือให้สามารถดึงเข้าไปสู่หน้า App Store ได้ทันที)

บทสรุปของโอกาสการค้นหา APP ผ่านอุปกรณ์พกพา

กล่าวโดยสรุป แนวทางหลักๆ 5 ประการที่กล่าวมานั้น เป็นการทำให้ App ของผู้อ่านตกเป็นเป้าสายตา หรือการถูกนำไปใช้งานโดยการค้นหาแบบธรรมชาติ (Organic Search)

การเติบโตของการค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพานั้นเปลี่ยนการให้คำจำกัดความใหม่แก่เทคโนโลยีแบบ SEO ทั้งในเรื่องของการปรับแต่งส่วนที่มองเห็นผ่านเว็บไซต์ (Front-end) หรือส่วนที่ผู้ใช้งานไม่สามารถมองเห็นได้ก็ตาม (Back-end) นำไปสู่การเข้าถึงขอบเขตของข้อมูล และการพัฒนาตัว Application

การเปิดให้ระบบของ Google เข้าไปค้นหาข้อมูลภายในระบบปฏิบัติการ (App Indexing) นั้น แผ่ขยายรวมถึงในระบบปฏิบัติการ iOS ผู้เขียนจึงคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ และโอกาสของการเปิดระบบของ Application และการทำให้ระบบสอดคล้องกันดังกล่าว จะเป็นไปอย่างแพร่หลายมากขึ้น

สำหรับอุปกรณ์ที่สนับสนุน Android App นั้น App Indexing ถือเป็นโอกาสที่เพิ่มการก้าวข้ามศักยภาพ เพื่อให้ล้ำไปอีกขั้นเหนือคู่แข่ง ที่ยังใช้ยึดในวิธีการค้นหาแบบเดิมๆ (Traditional Search) ดังนั้น อุปกรณ์ในระบบ iOS จึงควรเริ่มจากการปรับแต่งการแสดงผลรายการ App ไปพร้อมๆ กันกับการปรับปรุงในเรื่องของ App Indexing ซึ่งผู้เขียนหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงสำหรับ iOS ในปีนี้

By
moz
GetAppEasy Logo

ระบบร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น

สมัครเปิดร้านค้าได้ทันที ไม่ต้องกรอกบัตรเครติด